คุมน้ำตาลให้อยู่หมัด คุณแม่ต้องกินอย่างไร

(โดย วัชรี ดิษยบุตร, MSc. Nutrition, BSc. Biochemistry)
update : 22/10/2020

pregnant-women-is-holding-salad-bowl-her-handd

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ น้ำตาลในเลือดสูงชั่วคราวขณะตั้งครรภ์ แสดงว่าร่างกายตอนนั้น มีความสามารถในการจัดการน้ำตาลในเลือดไม่มีประสิทธิภาพ เรียกง่ายๆ ว่า ทำงานช้า

ดังนั้น แทนที่ น้ำตาลในเลือด จะเข้าสู่เซลล์เพื่อถูกสลายไปเป็นพลังงานแก่ร่างกาย ให้ทันกับความต้องการพลังงานของร่างกาย แต่น้ำตาลกลับล่องลอยอยู่ในเลือด ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (สูงกว่าระดับปกติ)

วิธีแก้ไข เบื้องต้นที่ง่ายที่สุดคือ “กินทีละน้อย แต่บ่อยขึ้น”

คาร์โบไฮเดรต หรือ เรียกสั้นๆว่า “คาร์บ” เป็นสารอาหารที่ให้น้ำตาลในเลือดเป็นตัวหลัก ได้จากอาหารจำพวก แป้ง น้ำตาล หัวเผือกมัน ผักผลไม้ที่มีรสหวาน รวมทั้ง น้ำตาล น้ำหวานต่างๆ

เมื่อกินคาร์บทีละน้อย น้ำตาลก็จะเข้าสู่เลือดทีละน้อย เฉลี่ยๆกันไปตลอดทั้งวัน ทำให้ร่างกายพอที่จะจัดการเอาเข้าสู่เซลล์ไปเป็นพลังงานได้ แม้ว่าจะช้าหน่อย แต่วิธีนี้ ก็ช่วยให้น้ำตาล ไม่ไปค้างเติงในเลือดนาน จนเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกในครรภ์ จึงมีข้อกำหนดทางโภชนาการว่า

“หญิงตั้งครรภ์ ไม่ควรกินคาร์โบไฮเดรต น้อยกว่า 175 กรัม/วัน” หรือ เท่ากับ 12 คาร์บต่อวัน นั่นเอง

Ref: สมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน

เพิ่มเพื่อน

หมวดหมู่

บทความน่าสนใจ

Tags