รู้จักเบาหวาน มีกี่ชนิด
(เรียบเรียงโดย ญานิศา บุญสากุลธงไชย | ตรวจทานโดย วัชรี ดิษยบุตร BSc.Biochemistry, MSc.Nutrition)
update : 17/08/2021
อย่าประมาท! เบาหวานไม่ได้เกิดเฉพาะกับคนสูงอายุเท่านั้น รู้หรือไม่ เบาหวานแบ่งได้ถึง 4 ชนิด แต่ละชนิดมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน การทำความเข้าใจว่าเป็นเบาหวานชนิดไหน จะได้รับมือกับอาการเบาหวานได้อย่างเหมาะสม และ ปลอดภัย
1. เบาหวานชนิดที่ 1
2. เบาหวานแฝง
3. เบาหวานชนิดที่ 2
เกิดจากร่างกายสร้างอินซูลินน้อยลง ร่วมกับภาวะดื้ออินซูลิน (การที่เซลล์ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่ดี) จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ถึงขั้นเป็นเบาหวาน คือ มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดตอนเช้า สูงกว่า 126 มก./ดล. ในอดีตมักพบเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันพบคนที่อายุน้อยก็เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มากขึ้น ซึ่งมีทฤษฎีว่าอาจเป็นผลจาก ทั้งพันธุกรรม รวมทั้งพฤติกรรมใช้ชีวิตที่ไม่ดูแลสุขภาพ น้ำหนักเกิน และการไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น
ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในระยะเริ่มแรก หากควบคุมอาหารและออกกำลังได้เหมาะสมก็สามารถคุมระดับน้ำตาลได้โดยไม่กินยาหรือกินยาไม่มาก แต่หากไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลได้เลย ก็จำเป็นต้องฉีดอินซูลินช่วย
4. เบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์
เกิดจากระหว่างตั้งครรภ์เป็นผลจากฮอร์โมนจากรกมีฤทธิ์ต้านอินซูลินชั่วคราว ทำให้ร่างกายของแม่ดื้อต่ออินซูลิน มักพบในแม่ที่ตั้งครรภ์ตอนอายุเยอะ น้ำหนักเกิน มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขณะตั้งครรภ์ หรือแม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน คุณแม่สามารถควบคุมน้ำตาลได้โดยการเลือกทานอาหารให้เหมาะสมและออกกำลังกาย แต่หากทำแล้วยังคุมไม่ได้ ก็จำเป็นต้องใช้การฉีดอินซูลินช่วย ส่วนใหญ่ภาวะเบาหวานจะหายไปหลังคลอด แต่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในอนาคต คุณแม่จึงควรเฝ้าระวังภาวะเบาหวานโดยหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ
สิ่งที่น่ากลัวของการเป็นเบาหวานเรื้อรัง คือ โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ ไตวายเรื้อรัง เสี่ยงตาบอด เป็นแผลเรื้อรังจนต้องตัดขา ยิ่งไปกว่านั้น เบาหวานไม่ใช่โรคที่เกิดขึ้นเฉพาะกับคนสูงอายุเท่านั้น แต่พบได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ดังนั้นเราจึงควรต้องใส่ใจดูแลสุขภาพและหมั่นตรวจเบาหวานของทุกคนในครอบครัว เพราะเบาหวานเป็นภาวะที่สามารถควบคุมได้โดยไม่ต้องใช้ยา(หรือใช้น้อยมาก) หากพบแต่เนิ่นๆ และปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตรวมทั้งเรียนรู้การทานอาหารที่เหมาะสม